ภาพการทำอบรมให้ความรู้เรื่อง “การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนสไตล์ญี่ปุ่น” โดย ผศ.ดร.ระพีพัฒน ภาสบุตร เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560

ภาพเปิดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ “ตลาดต้องชม – ตลาดถนนคนเดินปากแพรก” เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560
กันยายน 26, 2017
ภาพบรรยากาศ กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ ตลาดต้องชม – ตลาดถนนคนเดินปากแพรก เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560
กันยายน 26, 2017

ภาพการทำอบรมให้ความรู้เรื่อง “การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนสไตล์ญี่ปุ่น” โดย ผศ.ดร.ระพีพัฒน ภาสบุตร เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560

ภาพการทำอบรมให้ความรู้เรื่อง “การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชนสไตล์ญี่ปุ่น” โดย ผศ.ดร.ระพีพัฒน ภาสบุตร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560 โดยมีเนื้อหา ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชนผูกติดกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
2. คนญี่ปุ่นเมื่อเดินทางไปที่ใดจะซื้อของที่ระลึกในท้องถิ่นนั้นเป็นของฝาก
3. ของที่ระลึกในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะเฉพาะตัวไม่มีการลอกเลียนแบบกัน
4. ผลิตภัณฑ์แต่ละชุมชนของญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าตำนานเช่นประวัต
5. มีการสร้างนวัตกรรมให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม
6. มีการสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ไม่ลอกเลียนแบบกัน
7. ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันสามารถใช้งานได้จริงและนิยมซื้อเป็นของฝากทำให้ผู้ผลิตสามารถขายผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง
8. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนญี่ปุ่นมีความภาคภูมิใจที่ได้สืบทอด กิจการต่อจากบรรพบุรุษ
9. การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายสวยงามเป็นสากล
10. มีการออกแบบร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยให้ความสำคัญกับ รูป รส กลิ่น เสียง ดึงดูดให้ผู้พบเห็นสนใจ
11. ให้ความสำคัญกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์
12. มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ในแผ่นพับโบรชัวร์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
13. พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสาร เช่น จัดทำเว็บไซต์
14. วัฒนธรรมด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
15. หัวใจของการให้บริการและยิ้มแย้มแจ่มใส
16. มีความซื่อสัตย์สุจริตราคาเป็นมาตรฐานเท่ากันทุกที่

ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ในญี่ปุ่นไม่เพียงเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังเรียนรู้ที่จะพัฒนาช่องทางการติดต่อสื่อสาร และการตลาดไปสู่ลูกค้าด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการญี่ปุ่นมีการสร้างวัฒนธรรมด้านการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยสามารถดัดแปลงสภาพแวดล้อมให้เข้ากับตัวผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมีเอกลักษณ์ มีความแตกต่าง ในความเหมือน เช่น ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่ทำมาจากวัตถุดิบที่สำคัญเพียง 2 อย่าง คือ แป้งกับถั่วแดง แต่ก็สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างหลากหลายได้ในทุกท้องถิ่น

ภาพถ่ายโดย : กองประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
จัดทำอัลบั้มภาพโดย : งานพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.ธัญบุรี

Comments are closed.